ปั้น Pitch Deck อย่างโปร

ปั้น Pitch Deck อย่างโปร

17 มิถุนายน 2563บทความ2,082

HIGHLIGHTS :


HIGHLIGHTS :




  • เรียนรู้เทคนิคการปรับ Pitch Deck ให้ Pro จาก Denise Vorraber, Pitch Trainer ที่มาแชร์ประสบการณ์ คำแนะนำด้านการออกแบบ Pitch Deck รวมถึงรูปแบบวิธีการนำเสนอที่สามารถดึงจุดเด่นของสตาร์ทอัพออกมาได้มากที่สุด



เวลาในการอ่าน 3  นาที









Plug and Play Tech Centre เป็น Innovation Platform ที่เชื่อมโยงระหว่างองค์กรชั้นนำ นักลงทุนและสตาร์ทอัพ จากทั่วทุกมุมโลกเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะการพัฒนาสตาร์ทอัพ และมองหานักลงทุนให้ โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงสำนักงานในประเทศไทย





เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2563  ที่ผ่านมา Plug and Play Tech Centre  ประเทศออสเตรีย จัดงานเสวนาออนไลน์ในหัวข้อ Pitch Deck Polishing – Professionalize the basics โดยได้เชิญ Denise Vorraber ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการอายุน้อยกว่า 30 ปี (อายุ 25 ปี) จากโครงการ Forbes 30/30 ประจำปี 2018 มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในการเป็น Pitch Trainer ที่ได้ทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพต่างๆ เพื่อให้คำแนะนำด้านการออกแบบ Pitch Deck และรูปแบบวิธีการนำเสนอที่สามารถดึงจุดเด่นของสตาร์ทอัพออกมาให้ได้มากที่สุด โดยงานเสวนาในครั้งนี้ มีข้อคิดและคำแนะนำที่น่าสนใจดังนี้




  • ลักษณะของ Pitch Deck ที่มีประสิทธิภาพ


  • จัดโครงสร้าง Pitch Deck ให้ตรงตามวัตถุประสงค์การสื่อสาร


  • ขึ้นต้นด้วย Elevator Pitch และลงท้ายด้วย Call for Action


  • เทคนิคต่างๆ ด้านการออกแบบ และปรับวิธีการนำเสนอ Pitch Deck ให้สมบูรณ์แบบ





ข้อสำคัญ!! Pitch Deck ที่มีประสิทธิภาพ ควรมีลักษณะสำคัญสี่ประการคือ



1. ตรงประเด็นไม่เยิ่นเย้อ (Concise)


2. บอกเล่าเรื่องราว (Tell a Story)


3. ดึงดูดสายตา (Are visual)


4. จำกัดอยู่ที่ 10-13 แผ่น


การเตรียม Pitch Deck นั้น ควรพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ และวิธีการนำเสนอ เนื่องจากการเตรียม Pitch Deck สำหรับที่ใช้นำเสนอบนเวที (Event Pitch) นั้นแตกต่างจากการเตรียม Pitch Deck เพื่อนำเสนอต่อนักลงทุน (Investor Pitch) ซึ่งในประเด็นนี้ Denise กล่าวว่า Pitch Deck ที่ใช้สำหรับการนำเสนอบนเวทีนั้น ควรออกแบบเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ฟังให้มาอยู่ที่ผู้นำเสนอแผนธุรกิจ เพราะความสำเร็จของ Event Pitch อยู่ที่ความสามารถของผู้นำเสนอแผนในการถ่ายถอดเรื่องราว        แรงบันดาลใจ รวมถึงแผนการต่างๆ ในการผลักดันธุรกิจตามวิสัยทัศน์ ดังนั้นการเตรียม Event Pitch จึงควรคำนึงถึงกลยุทธ์การเล่าเรื่องราวบนเวทีทั้งหมด ในขณะที่ Pitch Deck ที่จะใช้ส่งให้นักลงทุนเพื่อประกอบการพิจารณาการร่วมลงทุนนั้น สามารถเพิ่มรายละเอียดและตัวอักษรเข้าไปได้มากกว่า และควรจัดลำดับการนำเสนอรายละเอียดให้เพียงพอต่อการกระตุ้นความสนใจของนักลงทุน สำหรับ Follow up meeting



จัดโครงสร้างของ Pitch Deck ตามองค์ประกอบการนำเสนอแผนธุรกิจทั่วไป ควรเริ่มต้นด้วย Slide ที่มีประโยคเพียงหนึ่งประโยค ที่สามารถทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ทันทีว่าสตาร์ทอัพนี้ดำเนินธุรกิจอะไร จากนั้นจึงให้ข้อมูลเพิ่มเติม ตามประเด็นสำคัญที่นักลงทุนให้ความสนใจเช่น




  • Momentum, Traction, Expertise: Your key numbers


  • Market Opportunity: Define market size & your customer base


  • Problem & Current Solutions: What need do you fill? Other solutions


  • Product or Service: Your solution


  • Business Model: Key Revenue Streams


  • Market Approach & Strategy: How you grow your business


  • Team & Key Stakeholders (Investors, Advisors)


  • Financials


  • Competition


  • Investment: Your ‘Ask’ for funding, Basic use of funds



ซึ่งการจบการนำเสนอ Pitch Deck ถือเป็นการจบด้วย Call For Action เพื่อเปิดประเด็นพูดคุยในช่วงถาม-ตอบ วิทยากรย้ำว่าผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับ Slide แรกและ Slide สุดท้ายมากเป็นพิเศษ เพราะผู้ฟังจะสามารถจดจำสไลด์เริ่มต้นและสไลด์สุดท้ายได้ดีกว่าสไลด์อื่นๆ



เทคนิคการออกแบบและการนำเสนอ Pitch Deck ให้สมบูรณ์แบบ




  • สไลด์หนึ่งแผ่นควรนำเสนอ ใจความหลักเพียงใจความเดียวเท่านั้น ไม่ควรมีตัวอักษรมากเกินไป


  • สำหรับการนำเสนอบนเวที สไลด์ใจความเดียวกัน ควรตัดประโยคให้สั้นลงจนเหลือแค่ Key Word และให้สตาร์ทอัพนำเสนอใจความสำคัญนั้นผ่านการเล่าเรื่อง ผ่านรูปภาพ Icon และ Infographics แทนการใช้ตัวอักษรเพียงอย่างเดียว อาจมีการใช้ VDO สั้นๆ รวมถึง Product Demo เป็นต้น


  • ลองค้นหาไอเดียการออกแบบ Pitch Deck ที่เข้ากับภาพลักษณ์ของแบรนด์และรูปแบบทางธุรกิจ โดยสามารถศึกษาแนวทางการออกแบบจาก Slide Bean Canva หรือ Piktochart  และอาจจะมาลองปรับใช้ใน Powerpoint หรือ Keynote ตามความถนัดของแต่ละคน นอกจากนี้ การออกแบบ Pitch Deck ควรคำนึงถึงการใช้ตัวอักษร การออกแบบ รูปภาพต่างๆ รวมถึงโทนสี ที่สอดคล้องกัน (Consistency) ตั้งแต่ต้นจนจบ


  • การใช้ตัวอักษรบนพื้นหลังที่เป็นรูปภาพ ควรปรับโทนสีของภาพ หรือใช้เทคนิค Overlay ด้วยสีโปร่งแสง ซึ่งการแต่งรูปภาพในลักษณะนี้จะช่วยให้ตัวอักษร เด่น ชัด อ่านได้ง่าย


  • เตรียม Back up Slides ที่แสดงรายละเอียด ขององค์ประกอบหลักของ Pitch Deck ในกรณีที่มีคำถามเพิ่มเติม เป็นการแสดงความพร้อมว่า สตาร์ทอัพได้เตรียมตัวมาอย่างดี



Pitch Deck ที่ออกแบบมาอย่างสวยงามมากขนาดไหนก็คงไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ ถ้าหากว่าผู้ประกอบการไม่สามารถสื่อสารแนวคิดการให้บริการหรือผลิตภัณฑ์ให้ผู้ฟังซึ่งอาจครอบคลุมถึงผู้เข้าร่วมงาน กรรมการ หรือนักลงทุนให้สามารถเข้าใจได้  ซึ่งในประเด็นนี้วิทยากรกล่าวว่าผู้ประกอบการควรใช้เวลาทดลองนำเสนอ Pitch Deck ให้ผู้ฟังคนอื่นๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เพื่อประเมินว่ากลุ่มผู้ฟังเหล่านั้นเข้าใจบริการหรือผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอ รวมถึงมีคำแนะนำอื่นๆ อย่างไรอีกหรือไม่ โดยยกตัวอย่างการทำงานกับสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งวิทยากรต้องใช้ระยะเวลาส่วนใหญ่ในการปรับเนื้อหาการนำเสนอให้ผู้ฟังส่วนใหญ่ รวมถึงตัวเธอเองสามารถเข้าใจเทคโนโลยีนั้นๆได้



ร้อยละ 90 ของการนำเสนอแผนธุรกิจที่ประสบความสำเร็จนั้น เกิดขึ้นจากการเตรียมความพร้อมในองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งต้องจะต้องผ่านกระบวนการระดมสมอง และกลั่นกรองเนื้อหาและข้อมูลที่สำคัญ รวมถึงการฝึกซ้อม ฝึกซ้อม และฝึกซ้อม จนกว่าจะสามารถพูดได้อย่างเป็นธรรมชาติภายในเวลาที่กำหนด และบรรลุวัตถุประสงค์การนำเสนอนั่นเอง





สรุปโดย ดร.ธนรรภรณ์ เศรษฐ์จินดา (อ.แนน)


ข้อมูลอ้างอิง

:

เขียนโดย

:

แบ่งปัน :

เเสดงความคิดเห็น

คุณอาจจะสนใจ