HIGHLIGHTS :
เวลาในการอ่าน 6 นาที
วิกฤติ Covid-19 นั้นส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจทั้งหมด รวมไปถึงเหล่า Startup ที่เดิมทีกำลังต่อสู้กับตัวเองเพื่อเอาชนะความต้องการของลูกค้า เอาชนะคู่แข่งเดิม หรือคู่แข่งหน้าใหม่ ยังไม่วายที่จะต้องดิ้นรนหาแหล่งเงินทุนมาต่อลมหายใจให้กับบริษัท บาง Startup อาจได้รับผลกระทบต่อรายรับ กระแสเงินสดเข้าในทันที นับเป็นช่วงเวลาที่หนักหน่วงและสาหัสสำหรับผู้ก่อตั้งที่ต้องฟันฝ่าเพื่อให้รอดพ้นจากวิกฤติอันเนื่องมาจากโรคระบาดครั้งนี้ ทำให้ผู้ก่อตั้ง Startup หลายคนอาจมองว่า การระดมทุนในช่วงวิกฤตินั้นแทบเป็นไปไม่ได้ หรือยากมากๆ แต่ในความเป็นจริง โอกาสการระดมทุนใน Startup ในช่วงวิกฤติครั้งนี้ยังคงมีอยู่ต่อเนื่องทั่วโลก และยังมีนักลงทุน (VC) จำนวนไม่น้อยที่ยังมองหาโอกาสการลงทุนใน Startup ในช่วงวิกฤตินี้ ซึ่งได้พูดถึงเกี่ยวกับการลงทุนของ VC ไปบ้างแล้วในบทความที่ผ่านมา “นักลงทุน VC ปรับตัวอย่างไรในช่วงวิกฤติ Covid-19”
เมื่อเทียบกับวิกฤติการณ์ครั้งก่อนๆ นั้น พบว่าในแต่ละครั้งจะมี Startup หน้าใหม่เกิดขึ้น และเติบโตประสบความสำเร็จจนมาเป็น Unicorn มากมาย เป็นเพราะในช่วงวิกฤตินี้จะเป็นการสนับสนุน Technology Disruption ให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และ Pain point ในอุตสาหกรรมต่างๆ จะยิ่งชัดเจนและยิ่งต้องการความเปลี่ยนแปลงมากขึ้นทั้งธุรกิจในรูปแบบ B2C และ B2B
ดังนั้น ผู้ก่อตั้งอาจพิจารณาและนำข้อเสนอแนะที่สะท้อนมุมมองของนักลงทุน VC ต่อไปนี้ เพื่อเพิ่มโอกาสได้รับเงินลงทุนจากนักลงทุน VC ได้
ตัวแปร การพิจารณาการลงทุนที่เปลี่ยนไป
ตัวแปรในการพิจารณาตัดสินใจลงทุนใน Startup ของนักลงทุน VC ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนแปลงไปในช่วงวิกฤตินี้ อันเนื่องมาจาก ความเสี่ยง และความไม่แน่นอนทางธุรกิจที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเช่น
ดังนั้น ผู้ก่อตั้ง Startup ควรจัดเตรียมข้อมูลตามตารางข้างต้นให้ดี เพื่อใช้ในการระดมทุนกับนักลงทุน VC โดยควรมุ่งเน้นไปที่ข้อมูลความเป็นจริงที่มีเหตุผลและพื้นฐานรองรับอย่างชัดเจน เพื่อแสดงให้นักลงทุนเห็น และเพิ่มโอกาสที่จะได้รับเงินลงทุน
ผลกระทบต่อ Startup ในแต่ละ Stage ที่ไม่เหมือนกัน
ในช่วงวิกฤติที่ความเสี่ยงทุกด้านเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ พบว่าการระดมทุนของ Startup ในช่วงนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงจำนวนครั้งของการระดมทุน (number of deal) ที่ลดลงไป (ต่อเนื่องจาก trend เมื่อสิ้นปี 2019) แต่ในทางกลับกัน ได้แสดงให้เห็นถึงมูลค่าการลงทุน (average deal size) ที่สูงขึ้น นั่นเป็นเพราะนักลงทุน VC ส่วนใหญ่อาจมุ่งเน้นไปที่การพิจารณา Startup ที่ระดับ Series A ขึ้นไปในช่วงนี้ อันเนื่องมาจาก Startup ที่อยู่ในระดับ Series A ขึ้นไปนั้น ส่วนใหญ่คือมีทีมงานที่ไม่ใหญ่และไม่เล็กมากจนเกินไป พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วได้ และยังพอมีฐานลูกค้าที่ยังพอให้ธุรกิจเติบโตต่อไปได้
ในขณะที่ มุมมองต่อ Early Stage Startup อย่างเช่นระดับ Seed จนถึง Pre-A อาจมีความลำบากในการระดมทุนในช่วงนี้ อาจต้องใช้ความพยายามมากเป็นพิเศษในการดึงดูดความสนใจนักลงทุน VC ดังนั้นผู้ก่อตั้งอาจพิจารณาเลื่อนการระดมทุนออกไปก่อนจนถึงสิ้นปี แต่หากมีความจำเป็นต้องการแหล่งเงินทุนอาจมองดู Grant จากภาครัฐ หรืออาจจัดทำ Convertible Debt แทนในช่วงนี้
แต่ในส่วนของ Startup ระดับ Series B ขึ้นไปนั้นอาจพบความลำบากอีกคนละรูปแบบ ที่มาในเรื่องของการเจรจามูลค่าธุรกิจ (Valuation) ที่โดยปกติจะต้องสูงขึ้นจากการระดมทุนรอบก่อนๆ แต่ในช่วงวิกฤตินี้นักลงทุน VC จะระวังเรื่องการพิจารณา Valuation มากเป็นพิเศษดังนั้น Startup ในระดับ Series B อาจพิจารณา Convertible Debt เป็นทางเลือกเพื่อประหยัดเวลาของผู้ก่อตั้งที่จำเป็นต่อการแก้ไข ปรับโครงสร้างธุรกิจ (ที่อาจทำได้ยากกว่าระดับ Series A เนื่องจาก ขนาดจำนวนพนักงาน ลูกค้า และโครงสร้างที่ใหญ่กว่า)
ขั้นตอนดำเนินการ การลงทุนที่ทำได้ยากมากขึ้น
การพบปะเจอหน้ากัน ของนักลงทุน VC และผู้ก่อตั้งและทีม รวมไปถึงการทำ Customer Survey และ Culture-observer นั้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการตัดสินใจลงทุนใน Startup โดยอาจมีความลำบากมากขึ้น ในการดำเนินการขั้นตอนนี้ ถึงแม้ว่าจะมี Technology Virtual Meeting ช่วยแต่ถ้าจะต้องควักเงินลงทุนให้กับสิ่งที่ยังไม่เคยเห็นมาก่อน อาจเป็นเรื่องยากและฝืนธรรมชาติของเหล่า VC (ส่วนใหญ่) มากจริงๆ
ดังนั้น การลงทุนในช่วงวิกฤตินี้ นักลงทุน VC อาจให้ความสำคัญกับ Startup ที่เคยพบเจอ หรือเคยได้ไปสัมผัสบรรยากาศที่ออฟฟิศ และได้รู้จักลูกทีมของผู้ก่อตั้งมาบ้างพอสมควร มากกว่า Startup รายใหม่ที่เพิ่งรู้จักกันในช่วงนี้ หากผู้ก่อตั้งที่อยู่ในสถานการณ์แบบนี้ เมื่อพบว่า Virtual Conference อาจไม่พอสำหรับการได้รับเงินลงทุนจริงๆ อาจลองพยายามเชิญนักลงทุน VC ให้เข้ามาร่วมชม Virtual Town Hall ของบริษัท (ถ้ามี) แทนไปก่อน อาจช่วยให้นักลงทุน VC รับรู้ถึง Culture ได้
บทสรุป
ในวิกฤติย่อมมีโอกาสเสมอ สำหรับผู้ก่อตั้ง Startup ที่ประสงค์ได้รับเงินจากนักลงทุน VC ในช่วงนี้ อาจจะต้องพยายามแสดงให้นักลงทุนเห็นว่าทำไม Startup ของเรานั้นจะเป็น “ผู้อยู่รอด” และ “ผู้ชนะ” จากวิกฤติครั้งนี้ได้ และต้องแสดงให้เห็นถึงการเตรียมตัว ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนไปถึงการ Execute ที่จะทำให้แผนธุรกิจของเราเกิดขึ้นได้จริง อย่างมีรูปธรรม ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสการระดมทุนให้สำเร็จมีมากยิ่งขึ้น
เขียนโดย : กัมปนาท วิมลโนท
Head of Investment and Strategic Partnership
Krungsri Finnovate