HIGHLIGHTS :
เวลาในการอ่าน 4 นาที
เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ที่ผ่านมา Plug & Play (PNP) สำนักงานประเทศไทย เปิดตัว Food & Agtech program soft launch ที่จัดขึ้นในรูปแบบผสมผสานระหว่างงานเสวนาออนไลน์และกิจกรรม Networking ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรม และอุตสาหกรรมเทคโนโลยีด้านอาหารและการเกษตร อาทิ คุณ Shawn Dehpanah, Executive Vice President, Head of Corporate Innovation PNP ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค คุณ Brian Tetrud, PNP, Global Director, Food & Beverage คุณ Dave Vosburg, Chief Financial Officer & Head of Emerging Technology Sensei Ag ร่วมแบ่งปันมุมมองและแนวโน้มการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ในอุตสาหกรรมอาหาร การเกษตร และการนำเสนอผลิตภัณฑ์ บริการจากสตาร์ทอัพในเครือข่ายของ PNP ทั้ง 12 บริษัท ซึ่งกิจกรรมที่จัดขึ้นในครั้งนี้ ทำให้เห็นเป้าหมายของการดำเนินโครงการ Food & Agtech ในประเทศไทย แนวโน้มนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่น่าจับตามอง โดยมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
ความท้าทายของอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร ที่กำลังก้าวเข้าสู่ยุค Digital Revolution
คุณ Shawn Dehpanah ให้ความเห็นว่าอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรกำลังเผชิญความท้าทายด้านต่างๆ เช่น การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตถึงร้อยละ 34 ภายในปี 2593 ซึ่งผลผลิตด้านอาหารและการเกษตรจะต้องมีอัตราการเติบโตถึงร้อยละ 70 เพื่อรองรับความต้องการในการบริโภคของจำนวนประชากรโลก แต่ทว่าอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรกำลังเผชิญความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม อาทิการเสื่อมโทรมของคุณภาพดิน ปัญหาการขาดแคลนน้ำ ปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงเป้าหมายการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต
ความท้าทายต่างๆ เหล่านี้ ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านการปฏิวัติภาคการเกษตรจากยุค Green Revolution เข้าสู่ ยุค Digital Revolution ที่มีการนำเทคโนโลยีด้านต่างๆ เช่น Artificial Intelligence, Machine Learning, Biotechnology, Robotics และ Automation มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดการใช้ทรัพยากรและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณความสูญเสียที่เกิดขึ้น เพื่อเป้าหมายสำคัญในการสร้างอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรที่สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน ซึ่งประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการผลิตและส่งออกสินค้าอาหารและการเกษตรเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และทาง PNP มองเห็นโอกาสในการเชื่อมโยงองค์กรชั้นนำ และสตาร์ทอัพจากทั่วโลกในครือข่ายของ PNP เพื่อเสริมศักยภาพและสนับสนุนระบบนิเวศสตาร์ทอัพด้านนวัตกรรมการเกษตรของประเทศไทยให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งในอนาคต
แนวโน้มนวัตกรรมด้าน Food & Agtech ที่น่าจับตามอง
ช่วงการเสวนาโดย คุณ Brian Tetrud ทำให้เห็นภาพรวมการดำเนินโครงการ Food & Beverage ทั่วโลก โดยเริ่มต้นที่สำนักงานใหญ่ Silicon Valley ในปี 2560 และได้ขยายโครงการไปยังประเทศบราซิล ประเทศอิตาลี สาธารณรัฐประชาชนจีน ในปีที่ผ่านมา และมีแผนการขยายโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยโครงการ Food & Beverage ของ PNP ได้รับความร่วมมือจากบริษัทผู้นำด้านอาหารและเครื่องดื่มระดับโลกมากมาย และมีเครือข่ายสตาร์ทอัพที่มีนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความท้าทายของอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร ตลอดทุกขั้นตอน ตั้งแต่กระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพอาหาร (Food Safety) บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิตทางการเกษตร การขนส่งสินค้าที่ช่วยยืดอายุผลิตภัณฑ์และรักษาความสดใหม่ระหว่างกระบวนการขนส่ง (Food Supply Chain) เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) การผลิตอาหารโดยนวัตกรรมขั้นสูง (Ingredient Innovation) เช่น โปรตีนทางเลือก (Plant-Based Meat) ผงปรุงแต่งอาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ คุณ Brian ยกตัวอย่างการดำเนินโครงการ Fargo ซึ่งตั้งอยู่ที่ North Dakota ซึ่งเป็นโครงการทดลองทางการเกษตรที่ได้รับความร่วมมือจากองค์กรพันธมิตร โดยที่มีเป้าหมายพัฒนาให้เป็นฟาร์ม ที่ใช้หุ่นยนต์และระบบเทคโนโลยีในการปฏิบัติงานทั้งหมด (Fully Autonomous) ภายในระยะเวลา 5 ปี ซึ่งโครงการดังกล่าวเพิ่งเริ่มดำเนินการในปีนี้ และทางทีมงานกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ เช่น การใช้โดรนที่มี Remote Sensing เทคโนโลยี เพื่อสำรวจพื้นที่ และประเมินอัตราการเติบโตของพืช โรคพืช หรือแมลง ที่อาจส่งผลต่อการเพาะปลูก เป็นต้น
ในช่วงที่สองของการเสวนา คุณ Dave Vosburg นำเสนอภาพรวมของ 6 แนวโน้มที่มีนัยสำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร ได้แก่
การนำเสนอนวัตกรรมจากสตาร์ทอัพ ที่ตอกย้ำว่า Digital Revolution กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
เข้าสู่ช่วงท้ายของกิจกรรมด้วยการนำเสนอรูปแบบธุรกิจของสตาร์ทอัพทั้ง 12 บริษัท ซึ่งถือเป็นการตอกย้ำแนวโน้มต่างๆ ที่วิทยากรทั้งสามท่านได้กล่าวถึง เราได้ฟังการนำเสนอแผนธุรกิจจากเทคสตาร์ทอัพ ที่กำลังดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจต่างๆ มากมาย เช่น Micro Farm หรือ Mobile Farm ซึ่งเป็นระบบ Indoor Farming ขนาดเล็ก สำหรับธุรกิจที่ต้องการควบคุมคุณภาพและความสดใหม่ของผลผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อปลาโดยใช้กระบวนการเพาะปลูกเซลส์ Cellular Cultivation การพัฒนาผลิตภัณฑ์นมโดยใช้ acellular technology ซึ่งสามารถสร้างผลิตภัณฑ์นมต่างๆ ที่มีกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อเทียบกับฟาร์มโคนมแบบดั้งเดิม นอกจากผลิตภัณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ก็ยังมีสตาร์ทอัพที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Big Data และ Data Analytics และผลิตภัณฑ์ Plant Based Protein รวมถึงการใช้โดรนเพื่อช่วยในการผสมพันธุ์พืช เป็นต้น
กิจกรรมของ PNP ในครั้งนี้ ทำให้เห็นถึงนวัตกรรมต่างๆ ที่สามารถพลิกโฉมอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรในหลายๆประเทศทั่วโลก ซึ่งนอกจากจะทำให้เรารู้สึกมีความหวังว่าการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริงแล้ว ยังทำเห็นให้เราเห็นถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงเครือข่ายและขยายความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ รวมถึงสตาร์ทอัพทั่วทุกมุมโลก ที่จะทำให้อุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรของประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุค Digital Revolution ในอนาคต
ข้อมูลของ Plug and Play:
PNP เป็นแพลตฟอร์มนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยมีสำนักงาน 30 แห่งทั่วโลกและให้บริการบริษัท ระหว่างประเทศมากกว่า 350 แห่ง ซึ่งประเทศไทยมีโอกาสอันดียิ่งในการรวบรวมเครือข่ายระดับโลกนี้ เพื่อแก้ปัญหาความท้าทายในภาคเกษตรขนาดใหญ่ของไทย รวมถึงแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงการผลิตและการเข้าถึงอาหารทั่วโลก ที่จำเป็นต้องมีการทำฟาร์มที่แม่นยำ การแปรรูป การจัดจำหน่าย และการใช้นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
ซึ่งหลังจากความสำเร็จของแพลตฟอร์มนวัตกรรม Plug and Play Food ในซิลิคอนวัลเลย์บราซิลและฟาร์โก Plug and Play จึงริเริ่มโปรแกรม Food & Agtech program soft launch ในประเทศไทย โดยนำทั้งบริษัท และสตาร์ทอัพชั้นนำ นักลงทุนและหน่วยงานภาครัฐเข้ามาสนับสนุนการดำเนินโครงการในประเทศไทยต่อไป
ที่มา : https://www.plugandplaytechcenter.com/events/food-agritech-thailand-soft-launch/
สรุปโดย ดร.ธนรรภรณ์ เศรษฐ์จินดา (อ.แนน)