นวัตกรรม : ความหวังใหม่เพื่อฟื้นฟูไทยกลับมา (ตอนที่ 4)

นวัตกรรม : ความหวังใหม่เพื่อฟื้นฟูไทยกลับมา (ตอนที่ 4)

29 กันยายน 2563บทความ1,603

HIGHLIGHTS :


HIGHLIGHTS :




  • นวัตกรรม ความหวังใหม่เพื่อฟื้นฟูไทยกลับมา (ตอนที่ 4) : การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการใหม่ๆ ทางธุรกิจ เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการยุคใหม่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ในบทความตอนนี้จะเป็นเนื้อหาต่อจากตอนที่แล้ว ที่กล่าวถึงแนวโน้มของการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้ตอบโจทย์กับธุรกิจในอนาคต



เวลาในการอ่าน 5 นาที









จากสถานการณ์ COVID-19 ที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบทางลบ ต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรง “นวัตกรรม” จึงถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก ว่าเป็นทางรอดทางเศรษฐกิจและเป็นความหวังที่จะฟื้นฟูประเทศไทย บทความชุด “นวัตกรรม : ความหวังใหม่เพื่อฟื้นฟูไทยกลับมา” นี้ได้รวบรวมข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ “นวัตกรรม” มาเพื่อจะเป็นประโยชน์ในการพลิกโฉมประเทศไทย ให้หลุดพ้นจากสภาพปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน



ตอนที่ 1 : ได้พูดถึงเรื่องนวัตกรรมในแง่ของ ความหมาย ประเภท และประวัติศาสตร์ ถือเป็นการเรียนรู้อดีต เพื่อเข้าใจปัจจุบัน และสร้างสรรค์อนาคต



ตอนที่ 2 : ทำความเข้าใจความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการสร้างให้เกิดนวัตกรรม (Process of innovation) ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้เกิดนวัตกรรม ความแตกต่างระหว่าง Invention และ Innovation การแพร่ของนวัตกรรม ตลอดจนนวัตกรรมกับการประยุกต์ใช้ในธุรกิจ เพื่อที่จะสามารถรักษาและยกระดับความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจในอนาคต



ตอนที่ 3 : การสร้างนวัตกรรมในยุค Digital จำเป็นอย่างมากที่ต้องใช้เทคโนโลยี เนื่องจากเป็นยุคที่คนส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีผ่านเครื่องมือต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำงาน การค้นหาข้อมูลสินค้าและบริการ ตลอดจนการโอนชำระเงิน ในบทความนี้จะกล่าวถึงแนวโน้มของการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้ตอบโจทย์กับธุรกิจในอนาคต



ตอนที่ 4 : การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการใหม่ๆ ทางธุรกิจเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการยุคใหม่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเป็นเนื้อหาต่อจากตอนที่ 3 ที่กล่าวถึงแนวโน้มของการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้ตอบโจทย์กับธุรกิจในอนาคต



ตอนที่ 5 : การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable development) ถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากความล้มเหลวของการพัฒนาแบบดั้งเดิมที่ผ่านมาทั้งทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจของหลายๆ ประเทศที่ยิ่งพัฒนายิ่งสร้างความเหลื่อมล้ำ ในบทความตอนนี้จะกล่าวถึงนวัตกรรมที่เรียกว่า “Eco-Innovation” ที่หลายธุรกิจนำมาใช้เพื่อช่วยแก้ไขและพัฒนาระบบนิเวศให้ดีขึ้น



ตอนที่ 6 : การพัฒนา Eco-Innovation ไม่เพียงแต่จะช่วยแก้ไขและพัฒนาระบบนิเวศให้ดีขึ้น แต่ยังส่งผลดีต่อธุรกิจอีกด้วย โดยเป็นเนื้อหาต่อจากตอนที่ 5 ที่กล่าวถึง การพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยใช้นวัตกรรมที่เรียกว่า “Eco-Innovation” พร้อมทั้งกรณีศึกษาบริษัทที่ประสบความสำเร็จจากการพัฒนา Eco-Innovation



ตอนที่ 7 : การพัฒนา Eco-Innovation เป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจในปัจจุบันตระหนักและทราบดีว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะต้องทำให้เกิดขึ้น แต่การทำให้เกิดขึ้นได้นั้นอาจไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากต้องใช้เงินทุนในการวิจัยและพัฒนา (R&D) ซึ่งอาจทำแล้วได้ผลดีหรือล้มเหลวก็ได้ โดยเป็นเนื้อหาต่อจากตอนที่ 5 และ 6 ซึ่งได้กล่าวถึงแนวทางและข้อคิดในการดึงดูดแหล่งทรัพยากรเงินทุนพร้อมทั้งกรณีศึกษาเพื่อสนับสนุนการพัฒนา Eco-Innovation



ตอนที่ 8 : นวัตกรรมทางสังคม หรือ Social Innovation



6) Autonomous mobility, as a service



ประเทศในสหภาพยุโรปเคยตั้งเป้าหมายร่วมกันว่า ภายในปี 2030 ประเทศต่างๆ จะพยายามช่วยกันลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงจากเดิม 40% ซึ่งจะเป็นไปได้ก็จะต้องเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับระบบนิเวศของการเคลื่อนย้าย (mobility ecosystem) ซึ่งล้วนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมรถยนต์ ขนส่งสาธารณะ เป็นต้น ในอนาคตมีความเป็นไปได้สูงที่จะพบกับ Smart roads, Interconnected Self-driving vehicles, Car-or ridesharing และ productivity travel time เป็นต้น ที่จะได้รับการพัฒนานวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นและเร็วขึ้นกว่าเดิม



สภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ในปัจจุบันของ Mobility ecosystem ก็คือ ต้องมีรถยนต์ส่วนบุคคล สถานีเติมน้ำมัน ใบขับขี่ และตามมาด้วยการจราจรติดขัด ที่เป็นปัญหาที่พบเจอกันในเขตเมืองของประเทศต่างๆ ในอนาคตคาดการณ์ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก กลุ่มบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ (Traditional carmakers) ก็จะหันมาพัฒนานวัตกรรมรถยนต์ทั้งในส่วนที่เป็น Hardware และในส่วนเทคโนโลยีเช่นการใช้ไฟฟ้าแทนน้ำมัน หรือรถยนต์ที่ไร้คนขับ การขนส่งสาธารณะทั้งใกล้และไกลก็จะมีการพัฒนาทั้งในมิติที่รวดเร็วกว่า และในเชิงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิม



7) Real deep fake



ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันและในอนาคต เราสามารถจะได้เห็นว่าในแต่ละวันผู้คนเกี่ยวข้องกับการถ่ายรูป การผลิตหรือดูคลิปวีดีโอ การรีวิวสินค้าบริการและกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น แต่การแสดงข้อมูลเหล่านี้มีคำถามว่าเป็นข้อมูลที่ “Fake” หรือไม่ ในอนาคตจะมีการใช้ AI มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้มากขึ้น และพยายามหาด้านที่เป็น ความรื่นรมย์ หรือด้านบวกของมนุษย์ เพื่อจะนำมาใช้พัฒนาสินค้าและบริการตอบโจทย์ผู้บริโภค มากกว่าที่จะค้นหาหรือสรุปด้าน Negative intentions ของมนุษย์



8) Privacy, morality and trustworthiness



โลกยุค Digital นี้ทำให้ผู้คนเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้ง่าย แต่ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีก็สามารถเก็บข้อมูลของแต่ละบุคคลไว้ได้ด้วยเช่นกัน เราต้องยอมรับว่า การเสียสละเรื่องความเป็นส่วนตัวในระดับหนึ่งต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน แต่บริษัทเทคโนโลยีหรือบริษัทที่จะได้รับข้อมูลส่วนตัวนี้จะต้องทำให้เกิดความมั่นใจว่าจะไม่นำข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้ไปทำอะไรที่ผิดหลักศีลธรรม หรือผิดต่อหลักธรรมาภิบาล ไม่เช่นนั้นหากผู้คนไม่เชื่อมั่น สิ่งที่ตามมาจะไม่ใช่แค่โดนต่อต้านเรื่องสินค้าและบริการเท่านั้น แต่จะหันกลับมาโจมตีในเรื่องความโปร่งใส และเรื่องการขาดบรรษัทภิบาลด้วย การนำข้อมูลไปวิเคราะห์จึงต้องดูว่าควรใช้อย่างไรจึงจะเพียงพอและเหมาะสม



9) The Qualityconomy : shifting to valuable offline experiences



เศรษฐกิจในยุคใหม่จะเน้นเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณ คือไม่เพียงแต่บทบาทในการส่งมอบสินค้าและบริการเท่านั้นแต่ยังต้องสร้างประสบการณ์ที่ดี และน่าจดจำให้แก่ผู้บริโภคด้วย (providing customers with personal and memorable experiences) ลองสังเกตจากการ share และ comment ต่อไปกัน เวลามีใครรีวิวร้านค้าบางแห่งที่มีบริการไม่ประทับใจหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้มีคุณภาพไม่ดี จนเป็นกระแสที่สะพัดไปในวงกว้างได้



การจัดหาสินค้าและบริการที่มีคุณภาพเป็นเลิศนี้ จะช่วยสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำแก่ผู้บริโภค ช่วยทำให้เกิดการซื้อซ้ำ และยินดีบอกต่อผ่าน social media จนสามารถสร้างหรือขยายฐานสู่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้เร็วและชนะคู่แข่งได้



10) Shameable business models



การทำธุรกิจในยุคใหม่ต้องดูแลใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยเพราะในกระบวนการทำธุรกิจบนห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำล้วนแต่ส่งผลกระทบทางบวกและลบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งที่อยู่ใกล้และไกลบนห่วงโซ่คุณค่า เริ่มตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบเข้ามา จนถึงกระบวนการผลิต และจัดจำหน่ายออกไปถึงมือผู้บริโภค บริษัทต้องยอมรับว่าได้เกี่ยวข้องกับทรัพยากรบนโลกนี้ ทั้งวัตถุดิบ น้ำ ไฟ พลังงาน ต่างๆ ซึ่งหากการใช้ทรัพยากรเหล่านี้อย่างไม่รู้คุณค่า รวมถึงของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต หากไม่มีการจัดการให้ดี หรือการไม่ดูแลแรงงาน พนักงาน สังคมทั้งใกล้และไกลให้ดี ในที่สุดหากมีกระบวนการตรวจสอบก็จะถือว่าเป็นบริษัทที่ไม่มีคุณค่าที่แท้จริง และคนก็จะตราหน้าว่า “น่าละอาย” หรือ “shame” บริษัทในยุคต่อไปจึงพยายามจะหาแบบจำลองทางธุรกิจที่เรียกว่า “Sustainable Business Model (SBM)” ขึ้น หรือ “Shameable Business Model” โดยมุ่งทำธุรกิจให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีทั้งต่อตนเองและผู้เกี่ยวข้อง และช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งมิติสังคมและสิ่งแวดล้อม



11) Open ecosystems



ระบบนิเวศในระบบเศรษฐกิจยุคต่อไปจะมีลักษณะ “Open ecosystems” มากขึ้น ตัวอย่างเช่น การเกิดขึ้นของ AirBnB และ Booking.com เป็นต้น ทำให้การจองที่พักโรงแรม ไม่ได้จำเป็นต้องมีรูปแบบเดิม เช่น ติดต่อแต่ละโรงแรมโดยตรง หรือบ้านพักส่วนตัวที่มีห้องว่างก็เปิดโอกาสให้มาแชร์ได้เพียงแค่ค้นหาบน platform ที่สร้างไว้ใช้ร่วมกัน ระบบนิเวศจึงมีลักษณะที่เปิดกว้างมากขึ้นกว่าเดิม โดย platform จะทำหน้าที่เป็น One central database ที่เก็บข้อมูลทั้งฝั่งของ Supply และ Demand และคอยทำหน้าที่ Matching ให้ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ และเพิ่มความเร็ว รวมทั้งความพึงพอใจ ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพที่ดีขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ในอนาคตอันใกล้ที่ระบบ 5G ทางด้านโทรคมนาคมที่จะออกมาใช้จะยิ่งทำให้ความรวดเร็วในการใช้ข้อมูลรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม ธุรกิจใหญ่เล็กสามารถเข้ามาร่วมการแข่งขันได้ง่าย เพื่อเป็นทางเลือกรูปแบบใหม่ให้เข้ามานำเสนอ โดยไม่ถูกกิจการขนาดใหญ่มามีอิทธิพลเพียงฝ่ายเดียว



12) All class movement : stepping up in change of era



ในช่วงที่ผ่านมาการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทำให้เกิดกลุ่มคนชั้นกลาง “Middle class” เพิ่มขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคสำคัญที่คอยขับเคลื่อนตลาดสินค้าและบริการต่างๆ อย่างไรก็ดีในอนาคตการพัฒนามาตรฐานการครองชีพของคนกลุ่มต่างๆ จะดีมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดฐานของลูกค้าที่มีกำลังซื้อขยายตัวในทุกกลุ่ม จะทำให้เกิดการยกระดับของการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและการลงทุน และที่สำคัญฐานของลูกค้าที่เป็น Middle class ก็จะขยายตัวมากขึ้นกว่าเดิม แต่ก็จะเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีความรู้มากขึ้น เข้าถึงและใช้เทคโนโลยี ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจต้องพัฒนาสินค้าและบริการ เทคโนโลยี และช่องทาง เพื่อตอบสนองความต้องการที่จะเปลี่ยนไปของลูกค้าให้ทัน



คำถามกลับมาที่ประเทศของเรา ผู้ประกอบการได้เตรียมตัวมากน้อยเพียงใด ภาครัฐได้เตรียมการกฎหมายและ Infrastructure รวมทั้งกลยุทธ์รองรับและสนับสนุนภาคธุรกิจมากน้อยเพียงใด เวลาทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบอกว่าเตรียมตัวแล้ว ในภาพรวมผลงานคืออะไร และแต่ละปีได้ขับเคลื่อนไปได้ดีขึ้นจนบรรลุเป้าหมายความสำเร็จหรือไม่ อะไรเป็น Gap ที่ต้องแก้ไขเพื่อที่จะให้ประเทศไทยสามารถสร้างความเข้มแข็งและพลิกฟื้นเศรษฐกิจให้กลับมาได้





ที่มา : Consultancy.eu



เขียนโดย : ดร.กฤษฎา เสกตระกูล, CFP®   



รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน



ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย


ข้อมูลอ้างอิง

:

เขียนโดย

:

แบ่งปัน :

เเสดงความคิดเห็น

คุณอาจจะสนใจ