3 ขั้นตอนสู่การสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล (Digital Culture)

3 ขั้นตอนสู่การสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล (Digital Culture)

5 ตุลาคม 2563บทความ5,913

HIGHLIGHTS :


HIGHLIGHTS :




  • การก้าวสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลนั้น ได้กลายเป็นเรื่องที่ทุกองค์กรให้ความสำคัญ แต่การเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) สิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมพร้อมไม่ใช่เรื่องเทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องพฤติกรรมของคนที่ต้องสร้างให้มีวัฒนธรรมดิจิทัล ในบทความนี้จะพาไปรู้จักกับการทำให้เกิดวัฒนธรรมดิจิทัล (Digital Culture) เบื้องต้น 3 เรื่อง ที่จะช่วยให้การทำ Digital Transformation ได้ผล



เวลาในการ 2 นาที









การเข้าใจถึงความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) เป็นเรื่องท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากดูเหมือนว่าไม่มีอะไรผิดปกติกับวิธีการดำเนินงานขององค์กรในปัจจุบัน อุปสรรคหลักอย่างหนึ่งของความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงคือ พฤติกรรมในองค์กร  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและรูปแบบจากวิถีที่เคยปฏิบัติกันมานั้น ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในชั่วข้ามคืนต้องอาศัยเวลา องค์กรอาจใช้วิธีการกระตุ้นให้เกิดแรงผลักดัน เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงได้ 3 เรื่อง ดังนี้



1. การเลิกทำงานแบบไซโล (Break Down Silos)



(The Silo Mentality กรอบความคิดที่ฝ่ายงานหรือหน่วยงานในองค์กรเดียวกันไม่ยอมแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน)



ในปัจจุบันไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าดิจิทัลกำลังเปลี่ยนแปลงระบบธุรกิจ  ความสัมพันธ์กับลูกค้า และการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีมีมากขึ้น การยอมรับวัฒนธรรมดิจิทัลเป็นเรื่องท้าทาย เนื่องจากพนักงานอาจต้องติดขัดกับการมุ่งไปสู่เทคโนโลยีใหม่และวิธีการทำงานใหม่ๆ องค์กรเองก็ต้องก้าวข้ามโครงสร้าง กระบวนการและระบบแบบเดิมๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมส่วนบุคคลและส่วนรวม  ในการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานนั้น องค์กรสามารถดำเนินการดังต่อไปนี้:




  • ความโปร่งใส การสื่อสารอย่างเปิดเผย และตรงไปตรงมา ทั้งจากบนลงล่างและล่างขึ้นบน


  • จัดทำโครงการที่มีทีมงานข้ามสายงาน โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่างๆ ของบริษัท เช่น ฝ่ายขาย การเงิน การตลาด การปฏิบัติการ และทรัพยากรบุคคล เพื่อให้แน่ใจว่ามีการพิจารณามุมมองได้รอบด้าน และส่งเสริมการสื่อสารและการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ


  • ใช้เครื่องมือการทำงานร่วมกัน การใช้  Microsoft Teams แทนการส่งอีเมล หรือลองทำงานร่วมกันบนเอกสารแทนการส่งอีเมลไปมา สิ่งนี้จะช่วยให้มีการแบ่งปันข้อมูลและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน



2. การสรุปข้อมูลทุกอย่างของลูกค้าที่มีต่อองค์กรร่วมกัน (Collaboration)



การสรุปข้อมูลมุมมองทุกอย่างของลูกค้า 1 คนใน 1 Record (A Single View of the Customer) เป็นพื้นฐานแนวคิดของการเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric Approach) การที่พนักงานมักใช้เครื่องมือและโซลูชันที่ตนเองต้องการโดยไม่ได้ทำงานหรือแบ่งปันข้อมูลร่วมกัน สามารถนำไปสู่มุมมองที่ไม่สอดคล้องกันเกี่ยวกับลูกค้าและความต้องการของลูกค้าได้ เพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรกำลังสร้างข้อมูลของลูกค้าร่วมกันอย่างครบถ้วน ให้ลองถามคำถามต่อไปนี้



ข้อมูลของเราดีแค่ไหน?



เราใช้เวลาเท่าไรในการรวบรวมและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล



เราจะจัดการข้อมูลที่รวบรวมจากลูกค้าของเราได้อย่างไร?



มุมมองของลูกค้ารายเดียวจะแสดงให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์ทั้งหมดที่ลูกค้ารายนั้นมีกับบริษัท ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการนำไปใช้เพื่อดำเนินธุรกิจของบริษัท ทั้งหมดนี้ต้องมีกลยุทธ์ที่สอดคล้องกันในการจัดการข้อมูลลูกค้า และไม่ควรเป็นความรับผิดชอบของทีมเดียว



3. ส่งเสริมการรับความเสี่ยง (Encourage Risk-Taking)



ความล้มเหลวให้เร็วเป็นหลักการดั้งเดิมของการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Agile เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการริเริ่มการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล  เพราะเป็นการกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรม ผู้นำต้องสร้างวัฒนธรรมที่ทำให้พนักงานรู้สึกสบายใจที่จะลองสิ่งที่อาจล้มเหลว ลดการตัดสินใจแบบระบบราชการ และเปลี่ยนโฟกัสไปที่นวัตกรรมแทนที่จะมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพอย่างเคร่งครัด



องค์ประกอบสำคัญของการล้มเหลวอย่างรวดเร็วคือการสะท้อนมุมมองและการเติบโต ต้องกระตุ้นให้สมาชิกในทีมแบ่งปันว่าอะไรที่ทำแล้วไม่ได้ผล เพื่อให้ทั้งองค์กรได้เรียนรู้ และต้องมีชุดทักษะในการใช้ข้อมูลเชิงลึก ร่วมกับการใช้ข้อมูลที่สร้างขึ้นจากความคิดริเริ่มใหม่ๆ แทนที่จะหยุดอยู่กับภาวะชะงักงันจากการที่ทำแล้วไม่ได้ผล เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนวิธีคิดหรือการฝึกฝนเพิ่มเติม



การเปลี่ยนไปสู่วัฒนธรรมดิจิทัลนั้นต้องใช้เวลา แต่ยิ่งเริ่มต้นเร็วเท่าไหร่ก็จะเห็นผลลัพธ์ได้เร็วขึ้นเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลจะยังคงเป็นงานที่ดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง การทดลองทำนั้น จะต้องเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และมีการผลักดันให้เกิดผลลัพธ์ เพื่อนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จครั้งใหม่ในที่สุด





Credit: https://www.cmswire.com/digital-workplace/3-steps-to-building-a-digital-culture/



สรุปและเรียบเรียงโดย : ปิยารมย์ ปิยะไทยเสรี



ฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ประกอบการ



ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย


ข้อมูลอ้างอิง

:

เขียนโดย

:

แบ่งปัน :

เเสดงความคิดเห็น

คุณอาจจะสนใจ