สร้างโอกาส เพิ่มคุณค่าธุรกิจด้วย New Business Model

สร้างโอกาส เพิ่มคุณค่าธุรกิจด้วย New Business Model

8 มกราคม 2564บทความ1,951

HIGHLIGHTS :


HIGHLIGHTS :




  • สถานการณ์ระบาดของ COVID19 เป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงในหลายอุตสาหกรรม ที่แต่เดิมนั้นมีแนวโน้มเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ก่อนหน้าแล้ว และเป็นตัวเร่งของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ Digital Economy การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นคืออะไรบ้างและได้สร้างแรงกระเพื่อมอะไรต่อการทำธุรกิจ



เวลาในการ 2 นาที









บทความนี้เป็นการสรุปเนื้อหา จากการสัมมนา Online ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา โดยได้จัดขึ้นในวันที่ 1 ธ.ค. 2563 ใน Theme



"ปรับธุรกิจให้สอดรับกับ Megatrends และ New Normal" หัวข้อ “สร้างโอกาสเพิ่มคุณค่าธุรกิจด้วย New Business Model” โดยได้รับเกียรติจากผู้บรรยาย 2 ท่าน คือ




  1. รศ.ดร. คณิสร์ แสงโชติ และ


  2. ผศ.ดร.รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น



อาจารย์ประจำ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



ซึ่งได้มาฉายภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดในช่วงปีที่ผ่านมาว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นทำให้เกิด Trend อะไรขึ้นบ้าง และได้สร้างวิถีใหม่ต่อการดำเนินธุรกิจไปอย่างไรบ้าง



1.  VUCA World



Volatile   สถานการณ์ที่มีความผันผวน



Uncertain  สถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอน คาดการณ์ได้ยาก



Complex  สถานการณ์ที่มีความซับซ้อน มีหลายปัจจัยเชื่อมโยงกันไปมา



Ambiguous สถานการณ์ที่มีความคลุมเครือ ไม่ทราบข้อเท็จจริง



2.  Intangibles >> ในสหรัฐฯ พบว่า Intangible Capital มีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในบริษัทใหญ่ๆ ซึ่งมีการลงทุนใน Fixed Assets น้อยลงเรื่อยๆ



3.  Digital Transformation ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจใน 2 รูปแบบ



3.1 การปรับเปลี่ยนธุรกิจที่ทำอยู่เดิมให้ digitized มากขึ้นในกระบวนการดำเนินธุรกิจ ตลอดทั้ง Value Chain



3.2 ปรับเปลี่ยนธุรกิจไปเป็นแบบใหม่ New Business Model >> Platform Business และ Sharing Economy



ซึ่งสิ่งที่ได้จากการ Digital Transformation คือ Big Data ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในทางธุรกิจได้อีกมาก



4. Demographic Shift  ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีประชากรสูงวัยในอัตราสูง ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาจะมีประชากรที่อายุน้อยในสัดส่วนที่สูงกว่า โดยปี 2050 คาดการณ์ว่ามากกว่าครึ่งของประชากรในโลกจะอยู่ในอาฟริกา ซึ่งน่าจะมีการเตรียมการเพื่อขยายการค้าไปสู่อาฟริกาในอนาคต



5. Sustainability ความยั่งยืน (E= Environment  S = Social  G = Governance) ไม่ใช่การทำเพื่อสังคม แต่เป็นการทำให้ธุรกิจมีกำไรโดยต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย ถ้าไม่ทำ จะขายสินค้าไม่ได้ ไม่มีผู้มาลงทุนด้วย อยู่ในสังคมของธุรกิจลำบากหรืออาจอยู่ไม่ได้



Lesson Learned บทเรียนที่เกิดขึ้นจาก Megatrends ที่เกิดขึ้น



1.  Work Faster  สูตรลับสู่ความสำเร็จที่เคยใช้กันมา จะอยู่ได้ไม่นาน ต้องคิดและทำให้เร็ว ออก Product ให้เร็ว



2.  บริหารทรัพยากรให้คุ้มค่ามากที่สุด




  • สินทรัพย์ที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก หรือไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักให้ขายออกไป


  • สินทรัพย์ที่ใช้ไม่เต็มที่ ให้นำมาหารายได้เพิ่ม เช่น ให้เช่า หรืออาจเช่าใช้สินค้าบางประเภท เมื่อจะต้องใช้ตามโอกาสและเวลา PAY PER USE ไม่ซื้อมาเป็นสินทรัพย์ เพื่อลด Capital Expenditure (CAPEX)


  • บริหาร Working Capital เพื่อเพิ่ม Cash flow ประสิทธิภาพการเก็บข้อมูลทำให้พยากรณ์การขายได้แม่นยำ สามารถบริหารไม่ให้เงินจมในสินค้าที่ต้องเก็บไว้ขาย หรือ การให้คู่ค้าที่เป็นลูกหนี้ค้ำประกันเงินกู้จากธนาคาร



3.  เข้าใจพฤติกรรมลูกค้าและปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจให้สอดรับกับพฤติกรรมลูกค้าให้มากที่สุด >> Diversification ธุรกิจจาก Insight ของลูกค้าจริงๆ ขายสินค้าเดิมด้วยวิธีใหม่ๆ  โดยการขาย Solution ไม่ใช่การขายสินค้า



4.  Remote Working กลายเป็นวิถีปกติในการทำงาน ทำให้มีการจัดสรรทรัพยากรแบบ Sharing มากขึ้น เวลาทำงานจะ Flexible มากขึ้น แต่ก็อาจมีผลกระทบทางลบด้วย ซึ่งต้องหาความสมดุลระหว่างการทำงานกับชีวิตส่วนตัว รวมทั้งการมีส่วนร่วมของพนักงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร



5.  วิกฤติคือโอกาส ธุรกิจที่มีการเชื่อมโยงรอบด้าน ให้บริการหลายรูปแบบ มีแนวโน้มจะอยู่รอดมากกว่า และธุรกิจที่มีการเตรียมพร้อมที่ดี มีการวางแผนดีอยู่เสมอ พอพ้นภาวะวิกฤติจะเติบโตได้เร็ว



กลยุทธ์ใหม่ในยุค Digital Economy



1.  Phygital  >> Physical + Digital ต้องทำธุรกิจให้รองรับได้ทั้ง 2 รูปแบบ



2.  Customer Centric >> ลูกค้าคือศูนย์กลาง ตอบสนองลูกค้าให้มากที่สุด



3.  Solution (not products) >> สินค้าของเราแก้ปัญหาอะไรให้กับลูกค้า



4.  Open Ecosystem >> ทุกอย่างเป็นระบบเปิดหมดแล้ว การเติบโตต้องร่วมมือกับคนอื่นให้เติบโตไปด้วยกัน



การเปลี่ยนแปลงบางอย่างอาจเป็นเรื่องชั่วคราว แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลายเรื่องจะไม่กลับไปเหมือนเดิมอีกต่อไป เป็นหน้าที่ของเราที่ต้องเรียนรู้และปรับตัว เพื่อเตรียมพร้อมและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงให้ได้





Credit: https://www.set.or.th/set/enterprise/knowledgedetail.do?contentId=7582



สรุปและเรียบเรียงโดย : ปิยารมย์ ปิยะไทยเสรี



ฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ประกอบการ



ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย


ข้อมูลอ้างอิง

:

เขียนโดย

:

แบ่งปัน :

เเสดงความคิดเห็น

คุณอาจจะสนใจ