รู้จัก Business Model ของ Clubhouse

รู้จัก Business Model ของ Clubhouse

15 กุมภาพันธ์ 2564บทความ2,439

HIGHLIGHTS :


HIGHLIGHTS :




  • Clubhouse แอปพลิเคชัน Social Media ล่าสุดที่เกิดขึ้นมาจากปัญหาของโควิด-19 แต่ได้สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ตอบโจทย์การใช้งานจากคนกลุ่มเล็กๆ แต่ได้ขยาย Use case การใช้งานให้กว้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหา Pain point ของ Social media ในปัจจุบัน  


  • จุดเริ่มต้น และเส้นทางการเติบโตของ Clubhouse ที่สามารถสร้างธุรกิจสู่ระดับยูนิคอร์นได้ในระยะเวลาเพียง 8 เดือน รวมถึงแนวทางการหารายได้ของธุรกิจ เรียนรู้ร่วมกันได้จากบทความนี้



เวลาในการอ่าน 4 นาที









กระแส Clubhouse ซึ่งเป็น Social radio หรือ Social meeting room ในไทย กำลังเป็น viral ที่มาแรงในขณะนี้ โดยหลายฝ่ายคาดว่าจะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ Facebook, Instagram, Twitter



หลายท่านได้ทำความรู้จักกับแอปนี้ไปบ้างแล้ว บทความนี้จะสะท้อนมุมมองในฐานะผู้ประกอบการ ที่สามารถเรียนรู้การทำธุรกิจที่เติบโตสู่ระดับยูนิคอร์นในระยะเวลาเพียง 8 เดือน



กำเนิด Clubhouse



Clubhouse ก่อตั้งโดย Paul Davison และ Rohan Seth ในเดือนมีนาคม 2563 ภายใต้ชื่อบริษัท Aplha Exploration



ไอเดียเริ่มต้นในการสร้าง Clubhouse เกิดจากช่วงต้นปี 2563 เกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้กลุ่ม venture capital ต้องกักตัวอยู่ในบ้าน ไม่สามารถพูดคุยกันได้ปกติใน Silicon Valley



ในช่วงเริ่มต้นจึงใช้กันในกลุ่ม Venture capital แบบ Invitation only เหมือนเป็นการพูดคุยกันในประเด็นทางธุรกิจเป็นหลัก จนกระทั่ง Celeb ชื่อดังอย่าง MC Hammer ได้ทวีตความน่าสนใจในการใช้แอป และชวน Celeb เข้าร่วมห้องสนทนา เช่น Oprah Winfrey, Kevin Hart, Aston Kutcher



ล่าสุดเจ้าพ่อวงการเทคสตาร์ทอัพอย่าง Elon Musk หรือ Mark Zuckerburg ได้ทวีตเชิญชวนเข้าร่วมสนทนาบน Clubhouse



เสน่ห์ของ Clubhouse คือ การเปิดประเด็นเสวนาผ่าน Moderator โดยไม่มีการบันทึก เปิดให้ Speaker พูดได้อย่างสบายใจ ทำให้ได้ความรู้สึกเป็นกันเอง เหมือนคุยกับเพื่อนฝูงที่สนใจในสิ่งเดียวกัน





ที่มาภาพ : https://fourweekmba.com/clubhouse-business-model


เส้นทางการเติบโต



Clubhouse ได้รับเงินทุน Series A ก้อนแรกในเดือนพฤษภาคม 2563 จำนวน 12 Mil.USD จากบริษัทลงทุน Andreesen Horowitz โดยมีการประเมินมูลค่าสูงถึง 100 Mil.USD



ภายหลังการเปิดบริษัทเพียง 3 เดือน และมีจำนวนผู้ใช้ในขณะนั้นเพียง 1,200 ราย



แต่ด้วยอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้มีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 2 ล้านรายทั่วโลก ในช่วงต้นปี 2564 ด้วย "การรับสมาชิกโดยการเชิญ (By invitation only)



การเป็นสมาชิกด้วยการเชิญ เป็น Exclusivity ทำให้เกิดความรู้สึกถึงความภูมิใจและคุณค่าในการใช้งาน เหมือนธุรกิจ Brick and mortar เช่น บัตรเครดิต High-End



ความยากในการเข้าใช้งานด้วยการจำกัดการเชิญเริ่มต้นที่ 2 คน จึงเกิดเป็นการบอกต่อ (Viral) จูงใจให้อยากลองใช้



เมื่อได้เข้าห้องสนทนารับฟังเนื้อหาในแบบการเล่าเรื่อง (Story telling) มากกว่าเล่าตามสคริปต์ แบบเจาะลึก Exclusive ไม่มีการเปิดให้พิมพ์ comment ฟังกันเพลินแบบลืมวัน เวลา



เป็นกลยุทธ์การทดลองใช้ที่น่าสนใจยิ่ง



ล่าสุดมีนักลงทุนสนใจลงทุนในบริษัทมากกว่า 180 ราย และปิด Series B ในเดือนมกราคม 2564 ด้วยเงินระดมทุน 100 Mil.USD จากการประเมินที่มูลค่าล่าสุดสูงถึง 1 Bil.USD ใช้เวลาเพียง 8 เดือนเพื่อยกระดับสู่การเป็นยูนิคอร์น



บริษัทหาเงินอย่างไร



ปัจจุบันบริษัทยังไม่ได้ประกาศแผนการหารายได้ แต่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า รูปแบบการหารายได้จะไม่ต่างจาก Facebook, Linkedin ด้วยการสร้างโฆษณาผ่าน banner หรือ Sponsored meeting room



อีกช่องทางการหารายได้คือ การเปิดเป็น Fee-based meeting room ให้บริษัท Event organizer เช่าใช้เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าจากหัวข้อความสนใจที่ได้ลงทะเบียนไว้ หรือการดึง Influencer เข้ามาหารายได้ด้วยการตั้งหัวข้อที่น่าสนใจและให้ผู้เข้าฟังจ่ายค่า Subscription ให้แก่ Host



อย่างไรก็ดี Clubhouse คงต้องใช้เวลาในการกระตุ้นการใช้งานให้มากขึ้นเพื่อจะได้เก็บข้อมูลความสนใจของบุคคลที่เข้าใช้งานมากพอในการขายโฆษณา



ข้อมูลคือหัวใจในการหาเงิน



"พฤติกรรมการใช้งาน" เป็นข้อมูลที่มีค่ามากที่สุดของ Clubhouse โดยแอปได้เก็บข้อมูล ชื่อจริง email หมายเลขโทรศัพท์ ข้อมูลการใช้งาน เช่น ความถี่และระยะเวลาใช้งาน ช่วงเวลาใช้งาน กลุ่มคนที่สนใจ การมีส่วนร่วมในวงสนทนา



ยิ่งคนใช้งานยาวนานขึ้น มีกิจกรรมในการเป็น Speaker หรือ Moderator จะได้รับสิทธิในการเชิญชวนบุคคลอื่นเข้าร่วมเพิ่มขึ้น หรืออาจเพิ่ม Incentive อื่นๆ ในภายหลัง



อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ได้ประเมินความเสี่ยงในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะประเด็นสิทธิข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะข้อมูลเหล่านี้คงมีส่วนที่กระทบ GPDR และเป็นอุปสรรคต่อการขยายเข้าสู่ตลาดยุโรป



บทสรุป



Clubhouse ถือได้ว่าเป็น Social Media ล่าสุดที่เกิดขึ้นมาจากปัญหาของโควิด-19 แต่ได้สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ตอบโจทย์การใช้งานจากคนกลุ่มเล็กๆ แต่ได้ขยาย Use case การใช้งานให้กว้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของ Social Media ที่ขาดการดูแลและเต็มไปด้วยข่าวสารที่ตรวจสอบไม่ได้



เป็นตัวอย่างการสร้างธุรกิจที่เป็น Blue ocean ค้นหา Pain-Point ในธุรกิจ Social Media ในปัจจุบัน ที่มีเจ้าตลาดยักษ์ใหญ่อยู่แล้วอย่าง Facebook, Instagram, Twitter



สำหรับในไทย ต้องรอดูต่อไป เนื่องจากผู้คนเริ่มเบื่อหน่ายความเลอะเทอะของ Social media ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่ง Clubhouse ได้ออกมาถูกจุดถูกเวลา





เขียนโดย : พงศ์ปิติ เอกเธียรชัย



ผู้จัดการ



บริษัท ไลฟ์ฟินคอร์ป จำกัด (LiVE)


ข้อมูลอ้างอิง

:

เขียนโดย

:

แบ่งปัน :

เเสดงความคิดเห็น

แท็กที่เกี่ยวข้อง

คุณอาจจะสนใจ