ธุรกิจกับการแก้ปัญหาโลกร้อน (ตอนที่ 3)

ธุรกิจกับการแก้ปัญหาโลกร้อน (ตอนที่ 3)

10 พฤษภาคม 2564บทความ3,789

HIGHLIGHTS :


HIGHLIGHTS :




  • ธุรกิจกับการแก้ปัญหาโลกร้อน (ตอนที่ 3) : แผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย รวมถึงมาตรการในด้านต่างๆ ทั้ง 15 มาตรการ เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่ร้อยละ 20 ภายในปี พ.ศ.2573  ซึ่งภาคธุรกิจควรได้รับทราบจะได้สามารถวางแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องไปได้อย่างเหมาะสม



เวลาในการอ่าน 4 นาที









บทความชุด “ธุรกิจกับการแก้ปัญหาโลกร้อน”



ตอนที่ 1 : ทำความเข้าใจกับก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ ภาวะโลกร้อนและผลกระทบ ตลอดจนข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่จะมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจ



ตอนที่ 2 : ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับโลกจากสถาวะโลกร้อน รวมทั้งสรุปสถานการณ์ในมิติสังคมโลกที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ที่จะช่วย “ชี้เป็นชี้ตาย” ในการต่อสู้กับปัญหาโลกร้อนนี้



ตอนที่ 3 : แผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย รวมถึงมาตรการในด้านต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งภาคธุรกิจควรได้รับทราบจะได้สามารถวางแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องไปได้อย่างเหมาะสม



ตอนที่ 4 : บทสรุปของการใช้พลังงานฟอสซิลที่ทำให้โลกร้อน และในมิติของภาคธุรกิจที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานฟอสซิล จะสามารถมีส่วนร่วมในการลดใช้พลังงานฟอสซิล เพื่อความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งจะย้อนกลับมาส่งผลดีต่อมูลค่าและความยั่งยืนขององค์กรในอนาคต



ตอนที่ 5 : การตระหนักถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อน เริ่มได้โดยการเก็บข้อมูลการใช้พลังงานของธุรกิจ เพื่อนำไปวิเคราะห์วางแผนในการลดผลกระทบดังกล่าว ถือเป็นการทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ ซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นใจต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง และส่งผลดีต่อการเติบโตและความยั่งยืนขององค์กรในอนาคต



ตอนที่ 6 : รู้จักกับพลังงานทดแทน (Renewable Energy) ประเภทต่างๆ ที่ธุรกิจควรหันมาให้ความสำคัญ และสามารถเลือกนำมาใช้ทดแทนพลังงานฟอสซิลเพื่อลดผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมได้



ตอนที่ 7 : เทรนด์ใหม่ๆ เกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน ซึ่งมีพัฒนาการที่ดีขึ้นเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ในปัจจุบัน และพลังงานหมุนเวียนกับเป้าหมายการลดโลกร้อนของไทย



ตอนที่ 8 : สรุปเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ของกระทรวงพลังงาน



ตอนที่ 9 : ศักยภาพวัตถุดิบพลังงานทดแทนในประเทศ ทั้งในส่วนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น ชีวมวล ขยะ ก๊าซชีวภาพ ไบโอดีเซล ไบโอเอทานอล รวมถึงพลังงานทดแทนในรูปแบบใหม่ๆ อย่างไม้โตเร็ว



ตอนที่ 10 : แนวทางการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์โดยรวมต่อประเทศชาติในหลายมิติ



ตอนที่ 11 : รู้จักกับ “คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit)” ถึงความหมายและความสำคัญ ตลอดจนการนำมาสู่ ตลาดคาร์บอนเครดิต ซึ่งกำลังพัฒนาในประเทศไทย และจะเป็นกลไกสำคัญที่สามารถช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนได้



ตอนที่ 12 :  เข้าใจประเด็นทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ “คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit)  รวมถึงรู้จักกับวิธีการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในลักษณะของ Carbon Emission Trading Schemes (ETS) ซึ่งเป็นที่นิยมกันในยุโรปและอีกหลายประเทศ



ตอนที่ 13 :  รู้จักกับกลไกการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ทั้งในตลาดคาร์บอนภาคบังคับ (Mandatory Market / Compliance Market / Regulated Market)  และในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ (Voluntary Market)



ตอนที่ 14 : รู้จักกับ Cap and Trade กลไกที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Market) รวมถึงรู้จักกับกฎหมายที่เกี่ยวกับ Cap and Trade ในสหรัฐอเมริกา



ตอนที่ 15 :  เงื่อนไขสำคัญของการเข้าซื้อขาย Carbon Credits ระหว่างประเทศ และพัฒนาการด้าน Cap and Trade ในประเทศออสเตรเลียและแคนนาดา



ตอนที่ 16 : พัฒนาการเกี่ยวกับ Carbon Emission และ Carbon Credits ในประเทศจีน นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น รวมถึงในกลุ่มสหภาพยุโรป



ในตอนนี้จะเริ่ม Share ให้เห็นข้อมูลเกี่ยวกับ Roadmap ของประเทศไทยในการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ซึ่งภาคธุรกิจควรได้รับทราบจะได้สามารถวางแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องไปได้อย่างเหมาะสม



1. แผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศปี 2564-2573



ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เปิดเผยใน mitigation.onep.go.th ได้สรุปไว้ว่า จากรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC) ได้ระบุให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีความเปราะบางสูงต่อผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับประเทศไทยได้รับการจัดลำดับจากองค์กร Germanwatch ให้เป็นหนึ่งในสิบประเทศที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาว ในขณะเดียวกันในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่พึ่งพาการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลและมีการเติบโตของพื้นที่เมืองอย่างต่อเนื่อง จึงมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น โดยในปี 2543 ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ไม่รวมภาคการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและป่าไม้) คิดเป็น 226.09 ล้านต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และเพิ่มเป็น 318.66 ล้านต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าในปี 2556



ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความรุนแรงส่งผลให้เกิดความร่วมมือของประชาคมโลกเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ได้แก่ความตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) กำหนดให้ทุกประเทศเสนอเป้าหมายและความก้าวหน้าของการดำเนินงานภายในประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นระยะ ทั้งนี้ ความตกลงดังกล่าวมีผลดีในการสร้างกลไกให้เกิดการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะจากประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป 28 ประเทศ และอินเดีย เป็นต้น ทั้งนี้การลดความรุนแรงของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาวต้องอาศัยความร่วมมือกันของประชาคมโลก ไม่สามารถดำเนินการโดยประเทศหนึ่งประเทศใดได้ ดังนั้นการมีส่วนร่วมของประเทศไทยภายใต้ความตกลงปารีสนี้จึงมีผลผูกพันให้ประเทศไทยต้องเร่งเตรียมความพร้อมในการดำเนินการสร้างศักยภาพในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยเช่นกัน



สำหรับการดำเนินงานของประเทศไทย นับตั้งแต่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) เมื่อปี พ.ศ. 2537 ประเทศไทยได้ดำเนินการร่วมกับนานาประเทศในการรักษาระดับความความเข้มข้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ และตั้งรับปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2558 ประเทศไทยได้จัดส่งข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายหลังปี พ.ศ. 2563 (Intended Nationally Contribution : INDC) ไปยังสำนักงานเลขาธิการ UNFCC โดยมีเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยภายหลังปี พ.ศ.2563 ที่ร้อยละ 20-25 จากกรณีปกติ



ต่อมาคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2558 เห็นชอบให้เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นนโยบายสำคัญของประเทศ เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2559 โดยให้สำนักงบประมาณและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2559 ได้มีมติมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับหน่วยงานในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนที่นำทาง (Roadmap) ซึ่งระบุแนวทางและมาตรการในรายละเอียดเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้ตั้งไว้ หรือเรียกแผนนี้ว่า NDC Roadmap on Mitigation 2021-2030



ในการดำเนินการเพื่อเป็นไปตามเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่ร้อยละ 20 ภายในปี พ.ศ.2573 นั้น คณะทำงานจัดทำแผนการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศได้ยกร่างแผนที่นำทางแยกตามรายสาขาด้วย เช่น สาขาพลังงานและขนส่ง สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ และสาขาการจัดการของเสีย เป็นสาขาที่เป็นแผนหลักของหน่วยงานที่มีความพร้อมและมีศักยภาพในการดำเนินงานที่สามารถสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจกได้ คิดเป็นศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจก ณ ปี พ.ศ.2573 รวมทั้งสิ้น 115.6 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าซึ่งจะเป็นไปตามเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่ 111 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าหรือร้อยละ 20 จากกรณีปกติ โดยมาตรการตามแผนงานที่จะส่งผลต่อการลดก๊าซเรือนกระจก ประกอบด้วยมาตรการในสาขาพลังงานและขนส่ง 9 มาตรการ มาตรการในสาขาการจัดการของเสีย 4 มาตรการ และมาตรการในกระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ 2 มาตรการ รวมทั้งสิ้น 15 มาตรการ โดยที่ประชุมได้ร่วมกันกำหนดผู้รับผิดชอบหลัก ผู้สนับสนุนและกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินมาตรการ



2. มาตรการในการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย (พ.ศ.2564-2573)



เป้าหมายการลด   ศักยภาพรวม ณ ปี พ.ศ. 2573 เท่ากับ 115.6 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า



มาตรการในสาขาพลังงานและขนส่ง



เป้าหมายการลดของสาขาพลังงานและขนส่ง  



ศักยภาพรวม ณ ปี พ.ศ. 2573 เท่ากับ 113 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า



 






มาตรการในสาขาการจัดการของเสีย



เป้าหมายการลดของสาขาการจัดการของเสีย            



ศักยภาพรวม ณ ปี พ.ศ. 2573 เท่ากับ 2.0 ล้านต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า



 





มาตรการในสาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์



เป้าหมายการลดของสาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมฯ          



ศักยภาพรวม ณ ปี พ.ศ.2573 เท่ากับ  0.6 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า



 





ภาคธุรกิจอาจลองพิจารณาว่าในกระบวนการทำธุรกิจของตนเกี่ยวข้องมากน้อยกับมาตรการใน 3 สาขา แล้วอาจเริ่มจากการสำรวจและประเมินสถานะว่าธุรกิจของเรามีส่วนสร้างก๊าซเรือนกระจกอย่างไรและเท่าใด และถ้าเราร่วมสร้างเป้าหมายที่จะลดก๊าซเรือนกระจกร่วมกับภาครัฐให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 จากปัจจุบัน ก็อาจเป็นแนวทางตั้งต้นที่ดีเพื่อลดปัญหาโลกร้อนในปัจจุบัน





เขียนโดย : ดร.กฤษฎา เสกตระกูล, CFP®   



รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย



ข้อมูลอ้างอิง

:

เขียนโดย

:

แบ่งปัน :

เเสดงความคิดเห็น

คุณอาจจะสนใจ